top of page
ค้นหา

What is Carbon Label

  • รูปภาพนักเขียน: Carbonoi
    Carbonoi
  • 8 ก.พ.
  • ยาว 1 นาที

หากให้ลองคำนวณเล่นๆ ว่าอาหารชนิดนี้ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ??? เราคงนึกไม่ออกเลยใช่ไหมว่าจะเดาตัวเลขอะไรดี แม้เรายังไม่คุ้นชินการประเมินตัวเลขคาร์บอนเหมือนตัวเลขแคลอรี่อาหาร แต่อีกไม่นาน เรื่องเหล่านี้จะเข้าไปอยู่บนฉลากอาหารทั่วโลก


มีงานวิจัยในวารสาร Nature Climate Change ระบุว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาหารที่ซื้อไปต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก แต่การแปะ ‘ฉลากคาร์บอน’ ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้านั้นมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในยุโรปเต็มใจที่จะจ่ายราคาสูงขึ้นถึง 20% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอน


แต่เราจะทำอย่างไรให้ตัวเลขเหล่านี้เข้าใจง่าย? ในปัจจุบันมีการแบ่งฉลากคาร์บอนออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

👉 ฉลากแบบจัดระดับ (Graded Labels) เช่น ใช้เกรด A, B, C หรือใช้คำว่า ต่ำ-กลาง-สูงเพื่อแสดงระดับการปล่อยคาร์บอน

👉 ฉลากแบบตัวเลขฟุตพริ้นต์ (Footprint Labels) แสดงตัวเลขคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของผลิตภัณฑ์โดยตรง

👉 ฉลากฟุตพริ้นต์พร้อมรายละเอียด (Footprint with Details Labels) เพื่อแสดงตัวเลขฟุตพริ้นต์ของผลิตภัณฑ์ พร้อมการแจกแจงแต่ละขั้นตอนตลอด life cycle เช่น วัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง บรรจุภัณฑ์ การใช้งาน จนไปถึงการกำจัดทิ้ง


ผลการศึกษาจากเดนมาร์กในปี 2016 ระบุว่า การใช้สีแบบไฟจราจรเพื่อแสดงระดับของคาร์บอนฟุตพริ้นต์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของฉลากอย่างมีนัยสำคัญและช่วยให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ 🔴🟠🟢 

หนึ่งในวิธีแก้วิกฤตอาหารโลก ที่เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 1 ใน 3  ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองในปริมาณมหาศาล อาจ เรียบง่ายเพียงแค่การใช้ฉลากแสดงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนแพกเกจอาหารเท่านั้นเอง


เพจคาร์บอนน้อย อยากร่วมสนับสนุน Carbon Literacy ในแบบที่เข้าใจง่าย ให้เกิด ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นต์และผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคม 


—---

อ้างอิง

Comments


Commenting on this post isn't available anymore. Contact the site owner for more info.
bottom of page