top of page
ค้นหา

จากเศษขนมปังไร้ค่า สู่คราฟต์เบียร์ราคาดี

  • รูปภาพนักเขียน: Carbonoi
    Carbonoi
  • 2 มี.ค.
  • ยาว 1 นาที

🍞 ‘ขนมปัง’ เป็นอาหารที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในอาหารที่ ‘ถูกทิ้ง’ มากที่สุดในโลก ในแต่ละปี ประมาณ 10% ของขนมปัง 185 ล้านตันที่อบทั่วโลกถูกทิ้งเป็นของเสีย หลายบ้านมีขนมปังที่ขึ้นราก็โยนทิ้งไป แต่ส่วนใหญ่มาจากซูเปอร์มาร์เก็ตและโรงงานอบขนมปังที่ตัดขอบตกแต่งจนเหลือเศษจำนวนมาก


รู้ไหมว่า กลยุทธ์ที่กำลังโด่งดังในการนำเศษขนมปังมาใช้ใหม่คือ กระบวนการหมัก (fermentation) ขนมปังเหลือทิ้งเป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถผลิตเอนไซม์หลายชนิดที่ส่งผลให้เกิดการสร้างน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว แท้จริงแล้ว กระบวนการหมักเชื้อรา ก็เป็นวิธีที่ใช้ในอาหารเอเชียดั้งเดิมมานานหลายพันปี


🍺 แนวคิดของ โรงกลั่นชีวภาพจากของเสีย (waste-based biorefinery) จึงกำลังฮิตสุด ๆ เพราะเป็นการช่วยชีวิตอาหารเหลือให้กลายมาเป็นของที่มีมูลค่าเพิ่มสุดเท่ห์ นั่นก็คือ ‘คราฟต์เบียร์’


ขนมปังสามารถใช้แทนบางส่วนของข้าวบาร์เลย์ในกระบวนการผลิตเบียร์ เพราะยังคงมีน้ำตาลที่สามารถหมักได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแอลกอฮอล์ แต่ก่อนนำขนมปังมาใช้ในการผลิตเบียร์ ต้องทำให้แห้งก่อน เนื่องจากความชื้นของขนมปังอาจส่งผลต่ออุณหภูมิของกระบวนการหมัก


โรงเบียร์ที่ใช้ขนมปังในกระบวนการผลิต เช่น Toast Brewing โรงเบียร์เพื่อสังคมจากอังกฤษที่รับซื้อขนมปังเหลือจากร้านเบเกอรี่และร้านค้าในท้องถิ่น ผลกำไรที่ได้ 100% ส่งต่อให้กับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม ในเอเชียเราก็มี Breer สตาร์ทอัพในฮ่องกงที่นำขนมปังเหลือมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเบียร์เช่นกัน


แท้จริงแล้ว เราอาจนำข้าวมาใช้ได้ไม่ต่างกัน สาโทแบบไทย ๆ เกิดจากนำข้าวมาคลุกรา หมักไว้ซักพัก เติมยีสต์เติมน้ำ บ่มต่ออีกซักหน่อย ก็กลายเป็นแอลกอฮอล์ภูมิปัญญาไทย’


เพิ่มมูลค่าได้น่าประทับใจแบบนี้ เพจคาร์บอนน้อยขอยกแก้ว Cheers to sustainability! 🍻


—---------


อ้างอิง


—---------------

ติดตามคาร์บอนน้อยช่องทางอื่นได้ที่

Instagram: carbonoi.ai

—---------------

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page