เบื้องหลังดอกไม้ที่ให้กัน มีรอยเท้าคาร์บอนซ่อนอยู่
- Carbonoi
- 15 ก.พ.
- ยาว 1 นาที
จะโพสต์เรื่องนี้ในวันวาเลนไทน์ก็เกรงใจคู่รัก จึงขอโพสต์ให้หลังสักหนึ่งวัน เพราะอยากพูดถึง ‘ด้านไม่สวย’ ของอุตสาหกรรมดอกไม้ ที่ต้องมองผ่านเลนส์ LCA: Life Cycle Assessment หรือ การประเมินวัฏจักรชีวิตหรือ (LCA) อ่านแล้วอาจจะอยากซื้อดอกไม้นำเข้าจากต่างประเทศน้อยลง (แพงอีกต่างหาก!)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของดอกไม้เกิดจากอะไรบ้าง?
🌱 การผลิตและการเพาะปลูก- การใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะไนตรัสออกไซด์ และยังทำให้ดินเสื่อม แหล่งน้ำปนเปื้อน- พลังงานที่ใช้ในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิ โดยเฉพาะประเทศเมืองหนาวแสงแดดน้อยต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล- การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ ปั๊มน้ำ เครื่องตัดแต่งดอกไม้ล้วนต้องใช้พลังงาน- การใช้น้ำมหาศาลที่ไปเบียดเบียนแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น กุหลาบหนึ่งดอกใช้น้ำ 7-13 ลิตร
✈️ การขนส่งและโลจิสติกส์- การขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อให้ดอกไม้สดถึงตลาดภายในเวลาอันสั้น- ระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain System) ทั้งในรถบรรทุกและเครื่องบิน
🌹 การขาย- ห้องเย็นที่เก็บดอกไม้เพื่อรักษาความสด ยิ่งเมืองร้อน ยิ่งใช้ไฟมาก- บรรจุภัณฑ์ห่อดอกไม้ เช่น กระดาษห่อ พลาสติกกันกระแทก โฟม แผ่นพลาสติก
🥀 การกำจัด- ดอกไม้ที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ จะหมักหมมจนปล่อยก๊าซมีเทน- บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ จะกลายเป็นขยะ ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
เราห้ามคนแสดงความรักไม่ได้ แต่เราออกแบบการปลูกดอกไม้ให้มีคาร์บอนฟุตปริ้นท์ต่ำได้ ตั้งแต่สายพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก และตำแหน่งของฟาร์มดอกไม้ มีงานวิจัยในสหราชอาณาจักรพบว่า ดอกไม้ที่ปลูกในท้องถิ่นและตามฤดูกาล มีรอยเท้าคาร์บอนเพียง 10% ของดอกไม้ที่ปลูกในโรงเรือนหรือขนส่งทางอากาศ
วาเลนไทน์ครั้งหน้า เพจคาร์บอนน้อยเชียร์ว่าให้ดอกไม้ริมทางก็น่ารักไปอีกแบบนะ 🌾
อ้างอิง
—---------------
ติดตามคาร์บอนน้อยช่องทางอื่นได้ที่
Instagram: carbonoi.ai
Facebook: facebook.com/carbonoi.ai.th
—---------------
Comments